วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

มนุษยสัมพันธ์สร้างความสุข



         คนเราเกิดมาจะอยู่คนเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับครอบครัว กับสังคมและในการมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นนั้นก็จะต้องมีการปรับตัว เพราะแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย ด้านความคิด ความสนใจ ทัศนคติ และความสามารถต่าง ๆ ตลอดจนความแตกต่างของสถานะด้วย ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ อาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่พอใจทำให้ไม่มีความสุขได้
แต่ในการอยู่ ร่วมกันนั้น โดยทั่วไปมนุษย์ทุกคนต้องการแสวงหาความสุข ความพอใจในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในแง่มนุษยสัมพันธ์สุขภาพจิตยึดหลักที่ว่า คนที่มีสุขภาพจิตดี คือคนที่มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หมายถึง รู้จักตัวเอง ทำให้อื่นมีความสุข มีความพอใจในการอยู่ร่วมกับเราด้วย

         ดังนั้น ใคร่ขอเสนอแนะวิธีหรือ หลักในการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยให้เกิดความสุขในการ อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นข้อ ๆ ดังนี้
        1. พูดจาทักทายผู้คนด้วยอารมณ์ชื่นบานแจ่มใสด้วยน้ำเสียงไพเราะน่าฟัง
        2. ยิ้มแย้มแจ่มใสทั้งสีหน้าและแววตา (คนที่หน้าตาบึ้งตึงต้องใช้กล้ามเนื้อถึง 72 ส่วน แต่การยิ้มใช้เพียง 14         ส่วนเท่านั้น อย่างนี้แล้วยิ้มไว้ไม่ดีกว่าหรือคะ)
        3. เรียกขานคนด้วยชื่อของเขา จะทำให้เกิดความพอใจและแสดงถึงความสนิทสนม
        4. เป็นคนมีน้ำใจไมตรี และพยายามทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
        5. เป็นคนมีความจริงใจ คำพูดและการกระทำสอดคล้องกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความไว้วางใจและศรัทธาในตัวเรา
        6. เป็นผู้ฟังที่ดีในการสนทนาให้ความสนใจต่อคู่สนทนา
        7. มีความใจกว้างและมีสติทั้งต่อคำวิจารณ์และคำชม
        8. รู้จักนึกถึงความรู้สึกของคนอื่น เอาใจเขาใส่ใจเรา
        9. พร้อมเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลเท่าที่จะช่วยได้ ซึ่งการช่วยเหลือกันนั้นถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด
        10.เติมอารมณ์ขันเข้าไว้ มีขันติ อดทน และรู้จักก่อนตน

          บทบัญญัติ 10 ประการข้างต้นนี้ เราสามารถทำได้ก็จะช่วยให้เราปรับตัวได้ แม้ว่าคนเราจะมีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยังมีความต้องการคล้าย ๆ กัน คือต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนี้ จะเป็นวิธีการสร้างความสุขในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เราได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มต้นตั้งแต่ที่บ้านก่อน ถ้าทุกคนที่บ้านเรารักใคร่ปรองดองกันมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันแล้ว สมาชิกในครอบครัวก็จะมีความสุข เรามาเริ่มต้นสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อความสุขกันตั้งแต่วันนี้เลยนะคะ

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix)



http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm      ได้กล่าวไว้ว่า ภาคผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น 

            เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

             กล่าวโดยสรุป      ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น   ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร


เอกสารอ้างอิง
http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3      . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13
เรืองอุไร ศรีนิลทา.(2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ,.(2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

21.เอกสารอ้างอิง (References)



http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3     ได้กล่าวไว้ว่า การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
การแสดงรายการทางบรรรณานุกรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน
หลักการเลือกรูปแบบการลงรายการ
1. หากเป็นนักศึกษา ควรสอบถามจากผู้สอนว่าต้องการให้ใช้รูปแบบใด แล้วเลือกใช้แบบที่แนะนำนั้น
2. หากผู้สอนไม่ระบุรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ให้เลือกรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นสากล หรือนิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกโดยพิจารณาจากสาขาวิชาที่ท่านสังกัดอยู่แป็นแนวทาง เช่น
    1) APA (American Psychological Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา จิตวิทยา การศึกษา และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ
    2) AMA (American Medical Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางชีววิทยา
    3) Chicago เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในทุกสาขาวิชา นิยมใช้ในการลงรายการหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่อ้างอิงเป็นเอกสารที่ไม่เป็นวิชาการมากนัก
    4) MLA (Modern Language Association) หรือ เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา วรรณกรรม ศิลป และสาขามนุษยศาสตร์
    5) Turabian เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาทั่วไปในระดับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย
    6) Vancouver เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่นิยมใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์
3. เลือกใช้รูปแบบของสถาบันกำหนด (ถ้ามี) ซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาได้จาก คู่มือการลงรายการบรรณานุกรมเอกสารวิชาการเพื่อการสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้กำหนดรูปแบบการลงรายการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ทั้งนี้ แต่ละสถาบันต่างประยุกต์จากรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมที่เป็นสากล

 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921    ได้กล่าวไว้ว่า ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6 ได้กล่าวไว้ว่ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"
ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


กล่าวโดยสรุป      ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน



เอกสารอ้างอิง
http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3      . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13 
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921        . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6      . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13

20.งบประมาณ (Budget)



http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้กล่าวไว้ว่า การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน


 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้กล่าวไว้ว่าการกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
        12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
        12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
        12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
        12.4 ค่าครุภัณฑ์
        12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล
        12.6 ค่าพิมพ์รายงาน
        12.7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
                  โครงการแล้ว
        12.8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก


    อรชร  โพธิ ( 2545, หน้า 157–210 ) ได้กล่าวไว้ว่า งบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ    การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ

กล่าวโดยสรุป      งบประมาณ  คือระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ    การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรการคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน


เอกสารอ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6       . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921       . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13
อรชร  โพธิสุข และคณะ .(2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ.  กรุงเทพ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.