วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

13.การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Colloction)



  http://www.thaigoodview.com/node/91926      ได้กล่าวไว้ว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ มักจะสนใจเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นตัวเลขหรือคะแนน โดยได้ข้อมูลจากการบันทึก นับวัดหรือประมาณค่าของสิ่งที่จะศึกษาด้วยการใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบลงทะเบียน แบบการทดลอง เป็นต้น

   ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงโดยทำเป็นตัวเลขข้อมูลภายใต้ขอบข่ายของโครงการที่กำหนด ไว้นั่นเอง

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 วิธีใหญ่ ๆ ซึ่งจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษาและลักษณะของข้อมูลเหล่านั้น ดังนี้

        1. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนประวัติ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่แล้วทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยการเก็บข้อมูลจากทะเบียนต่าง ๆ ของหน่วยงาน เช่น ในสถานศึกษานักเรียนทุกคนต้องทำทะเบียนประวัติ โดยมีชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปี เกิด ชื่อผู้ปกครอง ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ชื่อบิดา มารดาที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้ ที่อยู่ของเพื่อข้างเคียง สถานศึกษาเดิม เป็นต้น หรือในโรงพยาบาลคนไข้ทุกคนต้องทำทะเบียนประวัติ โดยมี ชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่ติดต่อได้ น้ำหนัก ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือก การแพ้ยา ฯลฯ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยวิธีนี้จะมีความเชื่อถือได้มาก ถ้าการเก็บรวบรวมข้อมูลทำอย่างครบถ้วน และผู้ให้ข้อมูลให้ข้อมูลตามความเป็นจริง เป็นวิธีที่ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

2. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจซึ่งผู้ทำการสำรวจได้จัดเตรียมไว้ ล่วงหน้าอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมคือ การส่งเจ้าหน้าที่ถือแบบสำรวจไปสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของกิจการที่ทำมาค้าขึ้น หรืออาจสำรวจโดยตั้งกระทู้ถามโดยผู้สำรวจเป็นผู้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลเพื่อให้ตอบคำถามต่าง ๆ แล้วส่งกลับคืนมายังผู้ทำการสำรวจ ซึ่งแบบสำรวจจะต้องเหมาะสมและอ่านเข้าใจง่ายการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้รวมถึงการทำสำมะโนซึ่งเกี่ยวกับ ประชากร เคหะสถาน การเกษตร และการอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งการทำสำมะโนหมายถึงการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยในประชากรภายในขอบเขตของเรื่องที่เราสนใจศึกษา เช่น การสำมะโนเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ก็จะสอบถามครัวเรือนเกษตรทุกครัวเรือนในจังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับเนื้อที่ เพาะปลูก พืชที่เพาะปลูก จำนวนปุ๋ยที่ใช้ ผลผลิตที่ได้ เป็นต้น การสำมะโนจะใช้เวลา แรงงานและใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก

http://www.thaigoodview.com/node/37681       ได้กล่าวไว้ว่า
- การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกของระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการทางสถิติ              
- ข้อมูล (data) หมายถึง กลุ่มของข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นลักษณะของค่าของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่บันทึกมาจากแต่ละหน่วยที่สังเกต(observation unit) อาจเป็นแต่ละราย เช่น คน ทัศนคติ เหตุการณ์        
      - ข้อมูลที่รวบรวมอาจมีหลายตัวแปร (variables) เช่น เพศ อายุ ความสูง น้ำหนัก ระดับความคิดเห็น
การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
1. ประเภทของข้อมูล                               
2. ประเภทของตัวแปร                             
3. แหล่งข้อมูล                          
4. ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
5. ทำไมต้องใช้ตัวอย่าง                     
6. วิธีการสุ่มตัวอย่าง                       
7. ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง                          
8. การออกแบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล                    
9. แบบฟอร์มการลงรหัสข้อมูล

 http://www.bestwitted.com/?p=171  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่
         1. สำมะโน (Census)  เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ
         2. การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey) เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจงนับบางหน่วยของประชากร โดยแต่ละหน่วยของประชากรที่ถูกแจงนับจะเป็นไปโดยสุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ
         3. การทดลอง ( Experiment )
          - วัตถุประสงค์ของการวางแผนการทดลองคือ เพื่อให้ทำสามารถวัดหรือเปรียบเทียบผลของสิ่งทดลอง (treatment) โดยการใช้หน่วยทดลอง (experimental unit)
          - สิ่งทดลอง หมายถึง วิธีการ หรือ กระบวนการหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการวัดหรือเปรียบเทียบ โดยจะนำสิ่งทดลองมาใส่ให้แก่หน่วยทดลอง เพื่อทำให้สามารถวัดค่าต่างๆ หรือวัดอิทธิพลของสิ่งทดลองโดยผ่านหน่วยทดลอง เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพของยารักษาโรคหัวใจ 4 ชนิด ในที่นี้ยาคือ สิ่งทดลอง จึงมีสิ่งทดลอง 4 ชนิด
          - หน่วยทดลอง หมายถึง คน สิ่งของ หรือสัตว์ที่นำมาใช้ในการทดลองเพื่อวัดผลของสิ่งทดลอง เช่น การเปรียบเทียบยารักษาโรคหัวใจ หน่วยทดลอง คือ คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ, การเปรียบเทียบคุณภาพวิธีการสอน 3 แบบ จะมีนักเรียนเป็นหน่วยทดลอง, การเปรียบเทียบคุณภาพของยา 4 ชนิด รักษาโรคใดโรคหนึ่ง มีคนไข้เป็นหน่วยทดลอง
         4. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป      การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงโดยทำเป็นตัวเลขข้อมูลภายใต้ขอบข่ายของโครงการที่กำหนด ไว้ โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวา

               
เอกสารอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/91926        . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
http://www.thaigoodview.com/node/37681         . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
 http://www.bestwitted.com/?p=171       . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น