วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix)



http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm      ได้กล่าวไว้ว่า ภาคผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น 

            เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392) ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

             กล่าวโดยสรุป      ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น   ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร


เอกสารอ้างอิง
http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3      . เข้าถึงเมื่อ 10/01/13
เรืองอุไร ศรีนิลทา.(2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ,.(2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น