วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)


                  http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538633496  ได้กล่าวไว้ว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญของการวิจัย เพราะวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นเครื่องชี้ทิศทางการดำเนินงานทั้งหมดของการวิจัยเรื่องนั้น ๆ  ว่าจะศึกษาเรื่องใดบ้าง มีขอบเขตครอบคลุมอะไรบ้าง  ดังนั้นสามารถกล่าวสรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้กำหนดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากงานวิจัยเรื่องหนึ่งๆ  โดยทั่วไปแล้วการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยมักจะเริ่มต้นคำว่าเพื่อและตามด้วยผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น โดยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นมักมีการเป็นระบุออกมาเป็นข้อๆ โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องมีความชัดเจนถึงผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้นโดยจะต้องครอบคลุมในทุกเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบจากปัญหาการวิจัย เช่น

·  เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการทางการคลัง

·  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติ

·  เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาความยากจน เป็นต้น

   จากตัวอย่างทั้งสามดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้วิจัยได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากงานวิจัยแต่ละเรื่องไว้  ดังตัวอย่างแรกที่กำหนดไว้ว่าเพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการทางการคลัง  ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ การได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการประกาศใช้มาตรการทางการคลัง หรือตัวอย่างที่สองที่กำหนดไว้ว่าเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ การได้ทราบข้อเท็จจริงว่าจะมีตัวแปรหรือปัจจัยใดบ้างที่สามารถอธิบายถึงประสิทธิผลของการนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติได้  หรือตัวอย่างที่สามที่กำหนดไว้ว่าเพื่อศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาความยากจน ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ การได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุทั้งหมดที่นำไปสู่ปัญหาความยากจน


      http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275     ได้กล่าวไว้ว่ากล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ไว้ 8 ประการคือ
1. เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในเรื่องต่อๆไป
2. เพื่ออธิบายความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยการให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือ
3. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคมและผลกระทบที่มีต่อสังคมนั้นๆ
4. เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคต
5. เพื่อพัฒนาหรือทดสอบทฤษฎี
6. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์
7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
8. เพื่อเสนอแนะทางออกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม


    http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm ได้กล่าวไว้ว่าการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัย เพราะเป็นตัวกำหนดทิศทาง เงื่อนไข และเรื่องราวโดยเฉพาะ โดยเน้นถึงผลที่จะได้รับในเชิงปฏิบัติได้จริง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องกำหนดแนวทางที่ถือปฏิบัติได้จริง วัดได้ ตรวจสอบได้ โดยการกล่าวถึงตัวแปรข้อมูล ตัวอย่างประชากร ตัวอย่างงาน มิใช่กล่าวข้อเสนอแนะ หรือประโยชน์ การวัตถุประสงค์ เป็นการเจาะจงถึงหลักการเนื้อแท้ของเรื่องราวที่ผู้วิจัยดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ ความมุ่งหมายของการวิจัยจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ผู้วิจัยจะทำอะไร อย่างไร คาดว่าจะได้อะไรจากการวิจัย เป็นการแสดงเจตจำนงที่จะหาคำตอบในขอบเขตจำเพาะ อย่าเขียนเลยเถิดออกไปจากแนวทาง ในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ไม่ถือว่าเป็นประเด็นปัญหาของงานวิจัย



      กล่าวโดยสรุป   วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นเครื่องชี้ทิศทางการดำเนินงานทั้งหมดของการวิจัยเรื่องนั้น ๆ  ว่าจะศึกษาเรื่องใดบ้าง มีขอบเขตครอบคลุมอะไรบ้าง  ดังนั้นสามารถกล่าวสรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้กำหนดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากงานวิจัยเรื่องหนึ่งๆ โดยทั่วไปแล้วการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยมักจะเริ่มต้นคำว่าเพื่อและตามด้วยผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น โดยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นมักมีการเป็นระบุออกมาเป็นข้อๆ  ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องกำหนดแนวทางที่ถือปฏิบัติได้จริง วัดได้ ตรวจสอบได้




เอกสารอ้างอิง

http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538633496    . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275     . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13

http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm     . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น