http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit3/content1.html ได้กล่าวไว้ว่าการวิจัยแต่ละเรื่องมีขอบเขตมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับงบประมาณและระยะเวลาที่จะทำการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยวางแผนการเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมและตรงกับความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้งไว้
ขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด
มีดังนี้
1. ลักษณะประชากรและจำนวนประชากร
(ถ้าหาได้)
2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง
3. ตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรตาม
และตัวแปรอิสระ
การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้นให้คำนึงถึงความมุ่งหมายของการวิจัยเป็นสำคัญ
กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
นอกจากกล่าวถึงประชากร
กลุ่มตัวอย่างและตัวแปรแล้วควรจะต้องกล่าวถึงเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
และระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองด้วย
ตัวอย่างการเขียนขอบเขตของการวิจัยที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย
ตัวอย่างที่1 เรื่อง
เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนธุรกิจ
สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 5
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี
ราชบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,255 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2550 สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling)
มีขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling
Unit) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 โรงเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น
451 คน
ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่
ระดับชั้นเรียน ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว
การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน
ตัวแปรตาม ได้แก่
เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณประโยชน์ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม
http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1 ได้กล่าวไว้ว่า ขอบเขตในการวิจัย ได้แก่
1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ก. ลักษณะของประชากร
ข. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
ก. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
ข. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
1.3 ตัวแปรที่ศึกษา
1.3.1 ตัวแปรอิสระ (Independent
Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
1.3.2 ตัวแปรตาม (Dependent
Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
ก. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
ข. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
http://rforvcd.wordpress.com/ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด
เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น
จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง
ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา
หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
(คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)
กล่าวโดยสรุป การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้นให้คำนึงถึงความมุ่งหมายของการวิจัยเป็นสำคัญ
เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด
เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น
จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง
ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา
หรือกำหนดกลุ่มประชากรกรณีที่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
นอกจากกล่าวถึงประชากร
กลุ่มตัวอย่างและตัวแปรแล้วควรจะต้องกล่าวถึงเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
และระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองด้วย
เอกสารอ้างอิง
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit3/content1.html
. เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1
. เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
http://rforvcd.wordpress.com/ . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น