วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

8.ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)



  http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content11.html  ได้กล่าวไว้ว่าข้อตกลงเบื้องต้นเป็นข้อความเงื่อนไขที่ต้องการให้ผู้อ่านยอมรับ โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์เป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคม เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจโดยไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อตกลงในเรื่องของตัวแปร การจัดกระทำข้อมูล วิธีวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง

              ตัวอย่าง การเขียนข้อตกลงเบื้องต้น

              หัวข้อการวิจัย : ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเชียงราย

              ข้อตกลงเบื้องต้น สามารถเขียนได้ดังนี้          

               - นักศึกษาทุกคนตอบแบบสอบถามด้วยความเข้าใจและด้วยความจริงใจ

                - การวิจัยในครั้งนี้ถือว่า ความแตกต่างในเรื่องเพศ อายุ เชื้อชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอาชีพของบิดามารดาไม่มีผลกระทบต่อการเรียน

http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm     ได้กล่าวไว้ว่ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์

http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์ โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ แล้วการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น อาจใช้แนวทางการอ้างอิงไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นด้วยคือ
                1. ความมีเหตุผล                                                                                                          
                2. หลักฐานข้อเท็จจริง
                3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้
แนวทางการดำเนินการวิจัย

กล่าวโดยสรุป      การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้นเป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ


เอกสารอ้างอิง
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content11.html         . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm        . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm      . เข้าถึงเมื่อ 9/01/13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น